วิธีเลือก Channel Manager ที่ใช่ เพื่อผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมทุกประเภท

Channel Manager คือ ระบบซอฟต์แวร์พื้นฐานของระบบจัดการห้องพักของโรงแรมในทุกวันนี้ก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมขนาด 10 ห้อง หรือ 1,000 ห้อง หากมี Channel Manager ที่ใช่และใช้ให้เป็น ก็สามารถจัดการรายได้และห้องพักได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

เกริ่นให้ฟังโดยคร่าวๆ คือ Channel Manager จะแสดงห้องพักให้ว่าที่แขกของโรงแรมเห็นได้อย่างเหมาะสม  ตามช่องทางที่พวกเขาค้นหา เพราะปัญหาง่ายๆ คือ ลูกค้าจะไม่สามารถจองห้องได้หากพวกเขาหาห้องพักที่จะจองไม่เจอ

บทความนี้ WOW จะมาแนะนำเรื่องราวทั้งหมดของ Channel Manager ว่าทำงานอย่างไร ไปจนถึงวิธีเลือกใช้ เพื่อที่ต่อจากนี้เมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการเลือกใช้Channel Manager ให้กับระบบ ก็จะสามารถเลือกใช้ได้ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องและได้ระบบไปช่วยงานจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Channel Manager คืออะไร?

Channel Managerคือ ระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยผู้ดูแลระบบโรงแรมอัพเดตสถานะของห้องพักในระบบของโรงแรม ช่องทางอื่นๆ ที่แสดงห้องพักก็ปรับข้อมูลให้เหมือนกันตรงกันอย่างที่ทางโรงแรมปรับได้

สถานะห้องพักที่อัพเดตก็เช่น ราคา ห้องว่างหรือเต็ม หรือข้อกำหนดการเข้าพักต่างๆ

การอัพเดตของข้อมูลเกิดขึ้นตามเวลาที่ผู้ดูแลระบบอัพเดตเลยหรือ real-time จากระบบจัดการข้อมูลส่วนกลาง ซึ่งส่วนมากก็มาจากทางโรงแรมเอง

หากไม่มีเทคโนโลยีนี้ ทางเจ้าของที่พักต้องล็อกอินระบบแสดงห้องพักทีละแห่งเพื่ออัพเดตข้อมูล ซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนสูง ก่อให้เกิดผลเสียทางธุรกิจตามมาได้

channel manager, channel manager ที่ไหนดี, channel manager คือ

สิ่งที่ผู้ดูแลระบบจัดการกับ Channel Managerคือ Channel Management หรือการจัดการค่าบริการและสถานะของห้องพักในช่องทางออนไลน์ต่างๆ

ซึ่งช่องทางออนไลน์ที่กระจายข้อมูลห้องพักยอดนิยมในหมู่ผู้ใช้งานคนไทย ได้แก่ เอเจนท์ออนไลน์ขายห้องพักและการเดินทาง (OTA) เช่น Booking.com, Expedia, Agoda, Traveloka หรือแพลตฟอร์มตลาดห้องพักออนไลน์อย่าง Airbnb เป็นต้น

ระบบ Channel Managerทำงานอย่างไร

Channel Managerจะอัปเดตข้อมูลห้องพักของโรงแรม โฮสเทล ห้องเช่า หรือที่พัก ในทุกช่องทางขายห้องพักออนไลน์ที่ทางโรงแรมเชื่อมต่อ แบบ real-time ในทุกครั้งที่ทางโรงแรมอัปเดตระบบผ่านระบบ Channel Management ของตัวเอง ซึ่งระบบนี้จะมีชื่อเรียกแยกย่อยอีกอย่างว่า Pooled Inventory

เมื่อมีคนจองหรือยกเลิกห้องพักผ่าน OTA ช่องทางใดก็ตาม ข้อมูลนี้จะแสดงบน Channel Managerหรือระบบข้อมูลการจองกลางของโรงแรม และห้องพักที่ว่างอยู่ก็จะหายไปตามจำประเภทห้องและจำนวนที่จองในทุกช่องทางการจองออนไลน์โดยอัตโนมัติเช่นกัน

การที่ระบบ Channel Managerอัปเดตข้อมูลให้ทั่วถึงกันทุกช่องทาง ช่วยป้องกันตัวเลขราคาค่าห้องผิดพลาดหรือการจองห้องซ้ำกัน ซึ่งกระบวนการทำงานทั้งหมดของ Channel Managerสามารถแบ่งออกมาได้ 3 อย่างหลักๆ ตามนี้

  1. Allotment (การแบ่งสรร) กลยุทธ์การจัดการช่องทางจัดจำหน่ายห้องพัก ระบบจะจัดสรรห้องพักไปตามช่องทางจำหน่ายต่างๆ ตามเป้าหมายการขายที่ผู้ทำระบบตั้งเอาไว้
  2. Channel mapping (แผนผังช่องทางจำหน่าย) ระบบซอฟต์แวร์ที่จัดห้องพักแบบต่างๆ ไปตามช่องทางจำหน่ายและทำให้ห้องพักแสดงข้อมูลตรงกันกับทุกช่องทางจำหน่าย ข้อมูลเหล่านี้จะอัปเดตกลับไปที่ระบบจัดการห้องพัก หรือ PMS (Property Management System) ด้วย ทำให้ไม่มีการบันทึกข้อมูลซ้ำ หรือตกหล่น หรือต้องใช้คนบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมในระบบอีก

channel manager, channel manager ที่ไหนดี, channel manager คือ

ทำไมระบบจองห้องพักโรงแรมต้องมี Channel Manager?

อย่างที่ได้เล่าไปข้างต้นแล้วว่า ข้อดีของ Channel Managerมีอะไรบ้าง ซึ่งเพื่อขยายความในเชิงลึกไปอีก ยังมี 4 เหตุผลที่โรงแรมส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ติดตั้งChannel Manager ในระบบจองห้องพักด้วย

1. ห้องพักเข้าถึงกลุ่มผู้เข้าพัก

Channel Managerช่วยดันห้องพักที่ว่างอยู่ของโรงแรมไปสู่การค้นหาของนักเดินทางได้มากขึ้นกว่าอดีตที่ผ่านมามาก ด้วยระบบอัปเดตข้อมูลครั้งเดียวทั่วถึงกันหมด ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการขายห้องพัก 

นอกจากนี้ห้องพักยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้นด้วยระบบแบ่งประเภทห้องพักตามความต้องการ ยิ่งสามารถเข้าถึงและปรับตามความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มการจองห้องพักได้มากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ดีกับโรงแรมมากเป็นพิเศษในช่วงโลว์ซีซั่น (Low season) ด้วย

2. ผลตอบแทนต่อการลงทุน (ROI) เพิ่มมากขึ้น 

Channel Managerช่วยกระจายห้องพักที่ว่างอยู่สู่ช่องทางจำหน่าย จนเกิดการจองห้องพักมากขึ้น ก็ทำให้การลงทุนต่อครั้งในธุรกิจโรงแรมได้ผลตอบแทนมากขึ้น

อีกทั้งโรงแรมสามารถวางแผนการขายด้วยการตั้งราคา (Smart pricing strategy) ซึ่งเพิ่มมูลค่าห้องพักต่อการขายแต่ละครั้งได้ด้วย ก็ช่วยให้โรงแรมได้ผลตอบแทนหรือกำไรมากขึ้นกว่าเดิม

การอัปเดตแบบ real-time ของ Channel Managerยังช่วยให้การแสดงผลการค้นหาหรือการกูเกิลเจอห้องพักของโรงแรมที่ไปขายบน OTA ดีขึ้น ซึ่งเมื่อคนเห็นในอันดับต้นๆ มากขึ้น ก็มีสิทธิคลิกเข้าไปดูมากขึ้น และมีโอกาสเพิ่มการขายห้องได้มากขึ้นตาม

3. ปรับการจัดจำหน่ายห้องพักให้โรงแรมได้ประโยชน์ที่สุด

การจัดจำหน่ายห้องพักตามช่องทางต่างๆ เช่น เว็บโรงแรม, OTA, เว็บขายทัวร์ หรือโซเชียลมีเดียของโรงแรมเพิ่มโอกาสการขาย และสามารถสร้างกลยุทธ์การขาย การทำราคาห้องพักจากการจัดการช่องทางการขายได้ด้วย

ตั้งแต่การเลือกใช้ช่องทางการขายห้องพัก จะขายห้องพักในแต่ละช่องทางเท่าไหร่ และการขายแต่ละช่องทางรวมแล้วจะปรับเพื่อบรรลุเป้าหมายกำไรที่ตั้งไว้ได้หรือไม่ ทั้งหมดนี้ Channel Managerช่วยคิดคำนวนให้ได้

ตัวอย่างเช่น โรงแรมย้ายโควต้าห้องพักที่ขายใน OTA ทั่วไป มาขายใน OTA แนว Boutique, OTA แบบจองวินาทีสุดท้าย หรือย้ายมาขายบนโซเชียลมีเดียของตัวเอง เพื่อจับกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ หรือจัดโปรโมชั่นสร้างกระแสให้กับโรงแรม เป็นต้น

4. ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา

ธุรกิจโรงแรมหลังโควิด หรือหลังช่วงซบเซา เป็นช่วงที่ทุกคนกลับมาเดินหน้าธุรกิจอย่างเต็มกำลัง ถ้าโรงแรมของเราต้องใช้เวลาในการจัดการหรือทำความรู้จักทีละช่องทางการขาย อาจไม่ทันการแข่งขันของตลาด ต้องจ้างพนักงานมาคอยอัพเดตข้อมูล ซึ่ง Channel Managerจะช่วยทุ่นเวลาและแรงงานได้

channel manager, channel manager ที่ไหนดี, channel manager คือ

เลือก Channel Managerมาใช้สักตัว ต้องดูอะไรบ้าง?

Channel Managerที่ดี ต้องมีฟังก์ชั่นที่โรงแรมต้องการใช้จริง ต้องเชื่อมต่อกับเว็บจองโรงแรมได้อย่างเสถียรและแสดงผลอย่างแม่นยำ ในเวลาแบบ real-time ที่สุด เช็คลิสต์เรื่อง Channel Managerที่ต้องดู คือ

  • การเชื่อมต่อ Channel Managerที่พัฒนาระบบแล้วในทุกวันนี้ต้องสามารถส่งต่อข้อมูลได้ 2 ทาง การอัปเดตเกิดขึ้นแบบ real-time และจัดเก็บข้อมูลด้วยระบบ Cloud การปรับเปลี่ยนโปรโมชั่นห้องพักทำได้รวดเร็วและยืดหยุ่นมากขึ้น  รองรับการจองได้ไม่จำกัดจำนวน
  • การผสมผสานของช่องทางจำหน่ายห้องพัก Channel Managerที่ดีควรเชื่อมต่อเว็บจองโรงแรมได้หลากหลายและไม่จำกัดเฉพาะในประเทศ เพื่อเปิดรับการจองจากทั่วโลก การเชื่อมต่อก็เช่น OTA รายใหญ่และเฉพาะกลุ่ม, ระบบการค้นหา (Search engine)
  • เน้นการใช้งาน เลือก Channel Managerที่ใช้งานง่าย เข้าใจการใช้งานจริงของทางโรงแรม และมีฟังก์ชั่นสำคัญอย่าง การชำระเงิน แปลงค่าเงินได้หลายสกุล สรุปรายงานการจองห้องพัก มีผู้ใช้งานระบบได้หลายคน ฯลฯ
  • เข้ากับระบบซอฟต์แวร์พื้นฐานของโรงแรม Channel Managerที่ทางโรงแรมเลือก ควรสามารถเชื่อมต่อหรือเข้ากับซอฟต์แวร์พื้นฐานอื่นๆ ที่โรงแรมใช้อยู่แล้ว เช่น PMS หรือระบบจองตรงผ่านหน้าเว็บโรงแรม เพื่อให้ข้อมูลห้องพักของโรงแรมเชื่อมต่อกัน ล็อกอินครั้งเดียวทำงานได้ทั้งระบบ

ใช้แค่ Channel Manager อย่างเดียวได้รึเปล่า?

เมื่ออ่านข้อมูลที่ว่าแล้ว เราอาจจะเริ่มรู้สึกว่า ถ้าอย่างนั้นก็ใช้ Channel Managerอย่างเดียวเลยก็ได้สิ ไม่จำเป็นต้องมีระบบ PMS เข้ามาให้ซับซ้อน แต่ความจริง ยังมีข้อมูลอีกมากมายที่ต้องใช้ PMS ในการรวบรวมและแสดงข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในระบบออกมาเป็นเอกสาร

หากทางโรงแรมกำลังคิดเรื่องนี้อยู่ ให้ลองถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองดู

  •  ระบบดำเนินการของโรงแรมในแต่ละส่วน (เคาท์เตอร์ต้อนรับลูกค้า แม่บ้านจัดห้องพัก ระบบการจองห้องพัก) ในแต่ละวันเป็นอย่างไร ใช้เวลาแต่ขั้นตอนเท่าไหร่?
  • ลูกค้าเช็คอิน/เช็คเอาท์ห้องพักอย่างไร?
  • ทางโรงแรมจะใช้Channel Manager เก็บข้อมูลการจองห้องพัก ข้อมูลการชำระเงิน ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าทั้งหมด ใช่หรือไม่? หรือจะต้องย้ายข้อมูลไปไว้ในระบบอื่นด้วย?
  • โรงแรมออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้าอย่างไร?
  • โรงแรมจัดการกับประเด็นที่เกิดขึ้นบ่อย ที่มักพบจากตอนที่ติดต่อลูกค้าอย่างไร?

 

อ่าน : รู้จักเทรนด์ Revenge Travelling เที่ยวให้หายแค้น เทรนด์ท่องเที่ยวหลังโควิดแบบนี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่?

เลือกผู้ให้บริการChannel Manager ต้องดูอะไรบ้าง?

1. ราคา

เพราะเรื่องเงินสำคัญ โรงแรมควรดูว่า Channel Managerของผู้ให้บริการหรือบริษัทรับทำเว็บฯ เป็นแบบขายขาด คิดเป็นรายเดือน หรือมีค่าคอมมิชชั่น? มีค่าติดตั้งระบบแรกเข้าไหม? เพราะทุกเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่รับเข้ามา ต้องตอบโจทย์เรื่องผลตอบแทนด้วย

2. ระบบดูแลหลังตกลงทำเว็บไซต์

การทำเว็บไซต์จะมีมากกว่าการดูแลหลังการขาย เพราะกว่าเว็บไซต์จะคลอดออกมา ต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่ต้องการทำระหว่างผู้ว่าจ้างและบริษัทรับทำเว็บไซต์

โรงแรมควรทราบข้อมูลขั้นตอนการติดต่อเพื่อทำเว็บไซต์ ต้องใช้เวลาเรียนรู้ระบบนานแค่ไหน มีเจ้าหน้าที่อธิบายหรือคอยให้ข้อมูลหรือไม่ เจ้าหน้าที่คอยดูแลเรื่องอะไรและอย่างไรบ้าง ลูกค้าสามารถแก้ปัญหาระบบได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งบริษัทเว็บฯ แค่ไหน เป็นต้น

3. ชื่อเสียง

ดูผลงานที่ผ่านมาของบริษัททำเว็บฯ นั้นๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีชื่อเสียงในการทำเว็บไซต์อะไร ลูกค้าของเขามีใครบ้าง ถ้าเป็นไปได้ก็ลองเล่นเว็บไซต์พวกนั้นดูว่าระบบการใช้งานดีหรือไม่

ลองหารีวิวการทำเว็บไซต์ของบริษัทมาศึกษา ถ้าเป็นไปได้ แนะนำว่าควรขอทดลองใช้เว็บฟรีหรือใช้เว็บตัวอย่าง เพื่อทดสอบระบบก่อนคร่าวๆ

4. การดูแลข้อมูล

ระบบการดูแลข้อมูลเว็บไซต์ที่บริษัทรับทำเว็บไซต์มี ปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ เพราะเว็บไซต์โรงแรมต้องเก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจำนวนมาก เรื่องความปลอดภัยข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ไม่อาจมองข้าม

Channel Managerที่กระจายห้องพักเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก

การกระจายห้องพักทางออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ คือ กุญแจดอกสำคัญสู่ธุรกิจโรงแรมและเจ้าภาพต้อนรับที่สร้างกำไรได้อย่างแท้จริง ที่ WOW ให้ความใส่ใจสูงสุด เราให้บริการรับทำเว็บโรงแรมที่เป็นมากกว่าเว็บโรงแรม

เพราะ WOW Hotel คือ Hotel Solutions ระบบจัดการห้องพักโรงแรมแบบครบวงจร ที่ช่วยเพิ่มรายได้ให้โรงแรมมากที่สุดและอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดด้วย

  • Professional web design หน้าเว็บโรงแรมสวยงาม ใช้งานง่าย ค้นหาเจอง่ายใน Google ด้วยเทคนิค SEO ที่อัปเดต
  • Online booking engine ระบบจองห้องพักออนไลน์บนเว็บโรงแรม ที่เก็บข้อมูลทำรายงานการจองห้องทั้งหมดและส่งอีเมลแจ้งเตือนลูกค้าอัตโนมัติเมื่อทำการจองห้องพัก
  • Channel manager ระบบจัดการช่องทางขายห้องพักอัจฉริยะ อัปเดตข้อมูลการขายในทุกช่องทางแบบ real-time ทั้งเว็บ, OTA, โซเชียลมีเดีย ฯลฯ
  • Dynamic pricing ระบบกำหนดราคาที่ช่วยสร้างกำไรต่อห้องพัก เคลื่อนไหวตามความต้องการจองของลูกค้า
  • 24/7 Customer service ทีมงานของ WOW คอยดูแลช่วยเหลือลูกค้าหลังรับระบบไปใช้งานด้วยตัวเองตลอดการใช้งานเว็บ ใช้งานตลอด ก็ดูแลกันตลอด

WOW ส่งท้าย

Channel Managerมีส่วนสำคัญอย่างมากในธุรกิจโรงแรมทุกวันนี้ เพราะโลกเชื่อมต่อกันผ่านระบบออนไลน์หมดแล้ว แขกที่ต้องการหาที่พักจะค้นหาห้องพักผ่านทุกช่องทาง

ระบบเว็บโรงแรมที่เชื่อมต่อข้อมูลกันอย่างอัตโนมัติและสามารถช่วยจัดการห้องพักให้ผู้ประกอบการแทนการใช้แรงงานคนได้ จึงเป็นทางเลือกที่ดี ทั้งในด้านการจัดการห้องและการจัดการต้นทุน โรงแรมที่สนใจต้องการทราบข้อมูล WOW Hotel เพิ่มเติมสามารถคลิกได้ที่นี่ โดยจะมีเจ้าหน้าที่แนะนำข้อมูลทั้งหมดฟรี ปรึกษาเรื่องการทำเว็บไซต์แบบไม่มีค่าใช้จ่าย

อยากทำเว็บไซต์ธุรกิจที่ช่วยสร้างยอดขายได้จริง ปรึกษา WOW ฟรีที่นี่

รับบทความใหม่ ไปอ่านก่อนใครไหม?

ทำธุรกิจออนไลน์ด้วยความรู้อัปเดต เข้าใจง่าย ได้ยอดขายดีจริงๆ กันดีกว่า!

บทความน่าอ่านในหมวดเดียวกัน

manger and hr roles onboarding
Management

บทบาทของผู้จัดการและ HR ในกระบวนการ Onboarding

กระบวนการ Onboarding เป็นช่วงเวลาที่จะกำหนดความสำเร็จและความผูกพันของพนักงานใหม่ต่อองค์กร การสร้างประสบการณ์ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่ความรับผิดชอบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้จัดการและฝ่าย HR ที่มีบทบาทแตกต่างแต่เติมเต็มซึ่งกันและกัน บทความนี้จะอธิบายถึงบทบาทและความรับผิดชอบของทั้งผู้จัดการและ HR ในกระบวนการ Onboarding พร้อมนำเสนอวิธีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและทำให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์กรได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว อ่านเพิ่มเติม Onboarding คืออะไร ความหมายและความสำคัญที่องค์กรควรทราบ บทบาทหลักของ HR ในกระบวนการ Onboarding ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) มีบทบาทสำคัญในการวางโครงสร้างและจัดการกระบวนการ

measuring and evaluating onboarding
Management

การวัดผลและประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม Onboarding

การลงทุนในโปรแกรม Onboarding ที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรสมัยใหม่ แต่การลงทุนโดยไม่สามารถวัดผลได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่อาจเป็นการสูญเปล่าทรัพยากรและเวลา การวัดผลและประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม Onboarding ไม่เพียงแต่ช่วยให้องค์กรทราบถึงความคุ้มค่าในการลงทุน แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง บทความนี้จะนำเสนอวิธีการวัดผลและประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม Onboarding ด้วย KPI ที่สำคัญ เทคนิคการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงแนวทางในการนำผลลัพธ์มาปรับปรุงกระบวนการให้ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรและพนักงานใหม่อย่างแท้จริง อ่านเพิ่มเติม Onboarding คืออะไร ความหมายและความสำคัญที่องค์กรควรทราบ ความสำคัญของการวัดผลประสิทธิภาพการ Onboarding ทำไมการวัดผล Onboarding จึงมีความสำคัญ แสดงความคุ้มค่าการลงทุน (ROI) การวัดผลช่วยให้องค์กรสามารถคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนในโปรแกรม