วิจัยตลาด : บันได 5 ขั้นสู่หัวใจลูกค้า รู้ไส้คู่แข่ง ตั้งเป้าธุรกิจตรงจุด

Highlights

  • วิจัยตลาด คือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อวิเคราะห์และเรียนรู้ว่า อะไรคือกุญแจสู่ความสำเร็จทางธุรกิจที่ทำ
  • วิจัยตลาด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วิจัยปฐมภูมิ (Primary research) และวิจัยทุติยภูมิ (Secondary research)
  • การวิจัยมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ใช้ได้กับการวิเคราะห์ตัวองค์กรหรือผลิตภัณฑ์ก็ได้

 

การตลาด เป็นขั้นตอนสำคัญ ที่ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มทำธุรกิจหรือทำธุรกิจมาได้สักพักก็ต้องมีสิ่งนี้ เพราะการทำการตลาด คือ การพาตัวเองไปเจอลูกค้าใหม่ๆ หรือสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมให้แนบแน่น อยู่กับแบรนด์ของเราไปนานๆ

แล้วจะทำการตลาดอย่างไร ให้พิชิตเป้าหมาย 2 อย่างนี้ได้? สิ่งแรกที่ต้องทำคือ รู้จักตลาดและความต้องการของตลาดเป้าหมายของเรา ซึ่งก็ต้องทำการ “วิจัยตลาด” นั่นเอง บทความ WOW เรื่องนี้ จะชวนคุยว่า การวิจัยตลาด หรือ Market research คืออะไร วิจัยแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ ต่างกันอย่างไร และวิธีการวิจัยตลาด 5 ขั้นตอน ที่ใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภท

วิจัยตลาด คืออะไร?

วิจัยตลาด คือ กระบวณการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าใจว่า อะไรคือกุญแจสู่ความสำเร็จทางธุรกิจที่ทำ ท่ามกลางคู่แข่งที่มีอยู่มากมายในวงการธุรกิจเดียวกัน

ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ได้แก่ ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการที่ไหนและซื้ออย่างไร ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกและตัดสินใจซื้อของลูกค้า เหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ลูกค้าซื้อและไม่ซื้อสินค้าและบริการแต่ละอย่าง

การวิจัยตลาดยังช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจเรียนรู้ความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจของตัวเองด้วย เช่น เทรนด์ธุรกิจ ขนาดของตลาด คู่แข่งของเราเป็นใคร ฯลฯ

ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เราสรุปตลาดที่ธุรกิจของเราอยู่ และรู้ว่าคุณค่าของธุรกิจของเรามีต่อตลาดมากน้อยแค่ไหน และจะเพิ่มเติมให้ดีขึ้นที่ตรงจุดไหนด้วย

วิจัยตลาด, วิจัยการตลาด, วิธีการวิจัย, การวิจัยตลาด, market research คือ

วิจัยปฐมภูมิ วิจัยทุติยภูมิ คืออะไร ต่างกันอย่างไร?

วิจัยตลาด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วิจัยปฐมภูมิ และวิจัยทุติยภูมิ

1. วิจัยปฐมภูมิ

วิจัยขั้นต้น คือ การศึกษาผู้ที่เป็นลูกค้าของธุรกิจโดยตรง วิธีการวิจัยที่ใช้ก็เช่น การสัมภาษณ์แบบกลุ่มหรือเชิญคนมาจำนวนหนึ่งให้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อสินค้าหรือบริการอะไรสักอย่างหนึ่ง (Focus group), การสัมภาษณ์เดี่ยวด้วยคำถามแบบแสดงความเห็น (Open-ended conversation) และการทำแบบสอบถามด้วยคำถามเฉพาะเจาะจง

วิจัยประเภทนี้จะเหมาะเป็นพิเศษสำหรับการสร้างกลุ่มผู้ซื้อสินค้า/บริการของบริษัท (Persona) หรือกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

2. วิจัยทุติยภูมิ

วิจัยขั้นรองหรือขั้นที่ 2 คือ การรวบรวมข้อมูลการสำรวจ แบบสอบถามและการตลาดอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำเองมาวิเคราะห์ อาจจะรวมถึงบันทึกสถิติต่างๆ ก็ได้ เช่น รายงานแนวโน้มหรือบทความที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ สถิติการตลาด เป็นต้น

ข้อมูลของการวิจัยทุติยภูมิสามารถหาได้ทั่วไป เช่น สภาอุตสาหกรรม หอการค้าไทย สำนักวิเคราะห์ธุรกิจจากต่างประเทศ หรือเอเจนซี่การตลาดใหญ่ๆ ก็มักทำรายงานวิเคราะห์การตลาดขของอุตสาหกรรมธุรกิจต่างๆ อย่างต่อเนื่อง (ส่วนมากจะทำกันเป็นรายปี) รวมถึงข้อมูลฟีดแบ็กธุรกิจของเรา เช่น การเข้าชมเว็บไซต์ โซเชียลมีเดียของบริษัท ก็ใช้ได้เช่นกัน

อ่าน : 7 กลุ่มสินค้า-บริการมาแรง ปี 2020 ที่ขายออนไลน์ได้ พร้อมวิธีทำการตลาดให้ขายดี

5 ขั้นตอน วิจัยตลาด ใช้ได้กับธุรกิจทุกกลุ่ม

  1. ระบุกลุ่มผู้ซื้อสินค้า/บริการของธุรกิจ และกลุ่มเป้าหมาย
  2. มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย
  3. หาวิธีที่ดีที่สุดที่จะตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้ได้
  4. หาข้อมูลคู่แข่งหลักของธุรกิจและวิเคราะห์พวกเขา
  5. สรุปข้อมูลและผลลัพธ์ที่ได้จากการทำข้อ 1 – 4

1. ระบุกลุ่มผู้ซื้อสินค้า/บริการของธุรกิจ และกลุ่มเป้าหมาย

คำถามแรกที่ผู้ทำธุรกิจควรถามตัวเองคือ “ลูกค้าของเราเป็นใคร?” ต้องตอบให้ได้ เมื่อตอบได้เราจะประเมินต่อได้ว่า เขามีลักษณะและพฤติกรรมอย่างไร

สำหรับผู้เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ๆ ให้มาเริ่มที่การสร้าง Persona หรือการสร้างตัวละครสมมติว่าเป็นคนส่วนใหญ่ของลูกค้าของเราเป็นคนแบบไหน

ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Persona ที่ผู้ทำวิจัยควรรู้ ก็เช่น อายุเท่าไหร่ สถานที่อยู่/ใช้ชีวิตที่ไหน ทำงานหรือมีงานอดิเรกอะไร พฤติกรรมการใช้ชีวิตตามปกติและที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรามีอะไรบ้าง ฯลฯ นี่เป็นตัวอย่าง Customer persona ของลูกค้าบริษัทสมมติชื่อ ทัวร์ ABC

วิจัยตลาด, วิจัยการตลาด, วิธีการวิจัย, การวิจัยตลาด, market research คือ

ผู้ทำวิจัยตลาดสามารถสร้าง Persona ได้มากกว่า 1 แบบ ขอเพียงแค่แต่ละ Persona นั้น แจกแจงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและนำไปสู่การสร้างแผนการตลาดมาดึงดูดลูกค้าให้ซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทได้

2. มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อทราบแล้วว่ากลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าของธุรกิจเป็นใคร ก็ถึงเวลาที่ผู้วิจัยจะสุ่มสอบถามพูดคุยเพื่อให้พวกเขาแสดงความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์ของเราและอุตสาหกรรมธุรกิจนั้นๆ

ไม่ว่าจะเป็นการสุ่มสัมภาษณ์คนทั่วไปที่มี Persona ที่กำหนดไว้ หรือจะติดต่อไปยังลูกค้าที่เรามีฐานข้อมูลอยู่ หรือแม้แต่คนที่เกือบเป็นลูกค้า (หยิบของใส่ตะกร้า แต่ไม่ได้ทำการสั่งซื้อให้เสร็จสิ้น) ก็ได้

วิธีการทำวิจัยกับกลุ่มเป้าหมาย ผู้วิจัยต้องมีเป้าหมายชัดเจน แล้วนำเป้าหมายนั้นมาชำแหละเป็นคำถามและหัวข้อการสนทนา เช่น การวิจัยทัวร์เที่ยวต่างประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวที่เที่ยวคนเดียว

เมื่อกลุ่มเป้าหมายรับทราบข้อมูลแผนการเที่ยวทั้งแผนแล้ว อาจจะถามว่า “จากแผนการเที่ยวนี้ คุณรู้สึกว่าจะยอมเสียเงินจ่ายทัวร์นี้ที่เท่าไหร่? หรือไม่ซื้อ เพราะอะไร?”, “สภาพเศรษฐกิจแบบใดที่จะทำให้คุณตัดสินใจซื้อการท่องเที่ยวนี้?”

หลังจากการทำวิจัย ควรมอบของตอบแทน เช่น เงินค่าจ้าง ของขวัญ หรืออาหาร แก่กลุ่มเป้าหมายที่ทำแบบสอบถาม เป็นค่าเสียเวลาด้วย

3. หาวิธีที่ดีที่สุดที่จะตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้ได้

พอทำความเข้าใจและได้ข้อมูลที่มีคุณภาพจากกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าแล้ว ก็ได้เวลาที่ผู้ทำวิจัยจะนำสิ่งที่ได้มาประชุมกับทีมการตลาดในองค์กร เพื่อค้นหาและสร้างแผนธุรกิจมาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

สิ่งสำคัญอีกอย่างที่นักการตลาดต้องคำนึงทุกครั้งในการพัฒนาแผนธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์คือ แบรนดิ้งของสินค้าหรือบริการ (Product/service branding) ที่สะท้อนตัวตนของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เมื่อได้มาแล้ว ก็โปรโมทหรือประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนี้ คือ การโปรโมทผ่านโซเชียลมีเดียหรืออีเมล ซึ่งจะมีผลมาก

แต่ในส่วนของช่องทางสื่อ ก็ต้องคำนึงถึงธรรมชาติของผลิตภัณฑ์อีกที ซึ่งแม้ทุกวันนี้ ช่องทางออนไลน์จะแทบครอบคลุมธุรกิจทุกอย่าง แต่ก็ไม่มีสูตรตายตัว นักการตลาดควรทดสอบตลาดด้วยตัวเองเพื่อค้นหาวิธีที่ดีที่สุดของผลิตภัณฑ์หรือองค์กรของตัวเอง

4. หาข้อมูลคู่แข่งหลักของธุรกิจและวิเคราะห์พวกเขา

เริ่มจากการทราบว่า ธุรกิจของเราอยู่ในอุตสาหกรรมหรือวงการธุรกิจอะไร ถ้าไม่ทราบก็ให้เริ่มจัดประเภทให้มัน ซึ่งอาจจะอยู่ได้มากกว่า 1 วงการ เพราะเมื่อระบุได้ว่าอยู่วงการอะไร ก็จะทราบโดยอัตโนมัติว่า คู่แข่งของเราเป็นใคร

ส่วนมากแล้ว รายชื่อของบริษัทต่างๆ ในวงการธุรกิจเดียวกันจะอยู่ในรายงานการตลาด ใน LinkedIn หรือง่ายที่สุดคือ ค้นหาในระบบค้นหา Google ยิ่งสามารถเจาะจงประเภทของธุรกิจได้ละเอียดแค่ไหน ก็จะยิ่งหาบริษัทอื่นที่เป็นคู่แข่งจริงๆ ของเราได้มากขึ้น ข้อมูลที่นำไปวิเคราะห์ก็จะสร้างประโยชน์ได้มากกว่า

วิธีวิเคราะห์ธุรกิจที่นิยมใช้กันคือ SWOT Analysis กับบริษัท โดย SWOT ย่อมาจาก Strength (จุดแข็ง), Weekness (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาสหรือปัจจัยดีจากภายนอก) และ Threaths (ผลกระทบด้านลบจากภายนอก)

เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทอื่นได้ นักการตลาดก็จะทราบว่า ธุรกิจของตัวเองจะสู้กับคู่แข่งอย่างไร เรามีจุดเด่นที่แตกต่างจากคนอื่นอย่างไร และมีแนวโน้มธุรกิจอะไรที่บริษัทของเราควรเข้าร่วมด้วย เช่น กระแสการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ไต้หวัน เป็นต้น

วิจัยตลาด, วิจัยการตลาด, วิธีการวิจัย, การวิจัยตลาด, market research คือ

ตัวอย่างแผนผัง SWOT Analysis

Credit : Wikipedia Commons

5. สรุปข้อมูลและผลลัพธ์ที่ได้จากการทำข้อ 1 – 4

จากทั้งหมดที่ผ่านมา ผู้ทำวิจัยตลาดหรือนักการตลาดจะมีข้อมูลพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย จนรู้ว่าจะเข้าถึงพวกเขายังไง รู้ว่าใครเป็นคู่แข่ง พวกเขาทำอะไรบ้าง คราวนี้ก็ได้เวลานำข้อมูลทั้งหมดมาทำเป็นรายงานที่ชัดเจน

ในรายงานควรพูดถึงเป้าหมายของการทำรายงาน ข้อมูลและที่มาของมัน และสรุปเชิงวิเคราะห์ข้อมูลที่หาได้ทั้งหมด ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยตลาดเพื่อทราบถึงธุรกิจโดยรวมหรือใช้ในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ก็ทำรายงานออกมาด้วยหัวข้อแบบเดียวกันที่ว่านี้ หรือสามารถเพิ่มเติมหัวข้อได้ตามความต้องการของการทำวิจัย

WOW ส่งท้าย

วิจัยตลาดเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา เพราะถ้าขั้นตอนการทำการตลาดส่วนนี้ดี ก็มีความเป็นไปได้ที่ขั้นตอนลงมือทำธุรกิจจะประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน

ซึ่ง WOW เป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์และระบบซอฟต์แวร์เพื่อจัดการภายในองค์กรและงานขายบนโลกออนไลน์ หากคุณกำลังทำเว็บไซต์เพื่อธุรกิจ คุณสามารถปรึกษาฟรี เพื่อค้นหาแพ็คเกจทำเว็บไซต์ของ WOW ที่ตรงตามความต้องการและคุ้มค่าเงินและเวลาที่สุดก่อนทำเว็บไซต์กับเรา  แล้วพบกับบทความธุรกิจอัปเดตเข้ากับสถานการณ์เป็นประจำได้ที่นี่ค่ะ

อยากทำเว็บไซต์ธุรกิจที่ช่วยสร้างยอดขายได้จริง ปรึกษา WOW ฟรีที่นี่

รับบทความใหม่ ไปอ่านก่อนใครไหม?

ทำธุรกิจออนไลน์ด้วยความรู้อัปเดต เข้าใจง่าย ได้ยอดขายดีจริงๆ กันดีกว่า!

บทความน่าอ่านในหมวดเดียวกัน

จิตวิทยาการตลาด
Marketing

7 หลักการทางจิตวิทยาการตลาด ที่นักการตลาดควรรู้

กุญแจสู่ความสำเร็จในการเข้าถึงผู้บริโภค เมื่อคุณกำลังทำการตลาดกับลูกค้าที่มีอยู่หรือลูกค้าที่คาดหวัง คุณต้องการรู้ว่าพวกเขาต้องการอะไรและอะไรจะดึงดูดความสนใจพวกเขา หากคุณไม่สามารถดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ก็จะมีคนอื่นหรือสิ่งอื่นมาดึงดูดแทน การทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จนั้น คุณต้องรู้ว่าลูกค้าของคุณคิดอย่างไร การรู้วิธีคิดของพวกเขาจะช่วยให้คุณเข้าใจว่าอะไรผลักดันให้พวกเขาตัดสินใจ โดยเฉพาะการตัดสินใจซื้อ เมื่อคุณเริ่มเข้าใจเรื่องนี้ คุณสามารถปรับกลยุทธ์การตลาดของคุณให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันที่คุณต้องการดึงดูดและรักษาไว้ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าคุณอาจต้องสร้างกลยุทธ์การตลาดที่หลากหลายสำหรับฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน เมื่อคุณรู้หลักการจิตวิทยาบางอย่างในการตลาด คุณสามารถสร้างสื่อการตลาดที่น่าประทับใจซึ่งมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะของคุณได้ แก่นของจิตวิทยาการตลาดคือการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาเพื่อเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค และนำไปสู่การออกแบบกลยุทธ์การตลาดที่ตรงใจ เมื่อคุณเข้าใจว่าทำไมผู้คนจึงตัดสินใจซื้อ คุณจะสามารถสร้างแคมเปญที่มีประสิทธิภาพและพัฒนาแบรนด์ที่แข็งแกร่งได้ ต่อไปนี้คือ 7 หลักการสำคัญทางจิตวิทยาที่นักการตลาดควรรู้ 1. การพิสูจน์ทางสังคม (Social Proof)

ขั้นตอนการเปิดบริษัททัวร์
Marketing

ขั้นตอนการเปิดบริษัททัวร์: คู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับผู้ประกอบการใหม่

การเปิดบริษัททัวร์เป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่หลงใหลในการท่องเที่ยวและต้องการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับนักเดินทาง บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนสำคัญในการเปิดบริษัททัวร์อย่างละเอียด เพื่อช่วยให้คุณเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างราบรื่น 1. การจองชื่อบริษัท ขั้นตอนแรกในการเปิดบริษัททัวร์คือการจองชื่อบริษัท ซึ่งสามารถทำได้ผ่านระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ข้อควรรู้ในการจองชื่อบริษัททัวร์ สามารถใช้คำว่า “ทัวร์” หรือ “ทราเวล” ในชื่อบริษัทได้ทันที ไม่จำเป็นต้องแก้ไขชื่อภายหลัง สามารถใช้ชื่อที่มีคำเหล่านี้ตั้งแต่เริ่มต้น ตรวจสอบว่าชื่อที่ต้องการไม่ซ้ำกับบริษัทอื่นที่จดทะเบียนแล้ว  2. การจดทะเบียนบริษัทนำเที่ยว หลังจากจองชื่อบริษัทแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจดทะเบียนบริษัท ซึ่งมีสองวิธีให้เลือก:  ก. แบบ Manual ยื่นเอกสารที่สำนักพัฒนาธุรกิจการค้าหรือพาณิชย์จังหวัดใกล้บ้าน