4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการ “ทำงานที่บ้าน (work from home)” ที่เจ้าของธุรกิจควรคิดใหม่

“Work From Home” เริ่มเป็นนโยบายการทำงานที่บริษัทในไทยหันมาสนใจมากขึ้น จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ในไทยช่วงเดือนมี.ค. 2563 จนทุกวันนี้ การ work from home หรือ WFH ที่ใช้เขียนกันย่อๆ กลายเป็นเรื่องธรรมดาของคนทำงานไปแล้ว

แต่ในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ work from home เป็นเรื่องใหม่มากสำหรับบริษัทในไทย เพราะปัจจัยต่างๆ เช่น รูปแบบของธุรกิจที่แต่เดิมการเข้าออฟฟิศเป็นข้อบังคับ ความพร้อมด้านทรัพยากรในบริษัทเอง

ไปจนถึง “ทัศนคติ” ของผู้บริหารจำนวนไม่น้อยที่มองว่า การWork From Home อาจลดประสิทธิภาพการทำงานลง เช่น คุยงานลำบาก ไม่ตั้งใจทำงาน ทำงานไม่เต็มเวลา เข้างานช้า เลิกงานก่อนเวลา ฯลฯ และนำไปสู่การไม่สร้างผลงานที่ดีของพนักงาน

ก่อนจะปักใจเชื่อหรือค้านกับวิธีทำงานจากบ้าน WOW มี 4 ความเชื่อ เกี่ยวกับการทำงานจากบ้าน ที่คนทำงานจากบ้านตัวจริงแนะนำว่า ไม่จริงและให้โยนทิ้งไปได้เลย! ทำงานที่บ้าน, work from home

ทำงานอยู่บ้าน บนโต๊ะทำงานที่คุ้นเคย กาแฟหอมๆ จากแก้วใบโปรด (จริงดิ่?)

1. “คนWork From Home มักขี้เกียจและไม่ค่อยทำงาน”

ความเป็นจริง : พนักงานที่Work From Home จำนวนมาก รู้สึกว่า ชั่วโมงการทำงานของพวกเขายาวนานกว่าพนักงานเข้าออฟฟิศที่มีเวลาทำงานและเลิกงานที่ชัดเจนในออฟฟิศ

สิ่งที่พวกเขาจะได้คือ ความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาการทำงาน เพื่อให้เข้ากับไลฟสไตล์ของพวกเขามากกว่า แต่ก็จะเกิดขึ้น หากพวกเขาปรับตัวเข้ากับการทำงานที่บ้านได้ 

นอกจากนี้ พนักงานที่ประสบความสำเร็จในการWork From Home ยังมองว่า การทำงานที่บ้านมีสิ่งรบกวนน้อยกว่า ทำให้โฟกัสงานที่ทำในแต่ละวันได้มากกว่าด้วย 

2. “คนทำงานจากบ้านไม่มีสังคม เข้ากับทีมยาก”

ความเป็นจริง : ด้วยเครื่องมือออนไลน์และระบบการรายงานตัวหรือการประชุม พนักงานที่ทำงานจากบ้านเป็นประจำ จะเห็นถึงความสำคัญของการติดต่อผู้ร่วมงาน ทีมงาน หรือแผนกอย่างสม่ำเสมอ 

ซึ่งการที่ต้องจัดตารางการประชุมพูดคุยอย่างชัดเจนยังทำให้พนักงานWork From Home จัดตารางชีวิตด้านอื่นๆ รวมถึงเรื่องส่วนตัวได้ดีขึ้น

เพราะคนจำนวนไม่น้อยจะพยายามจัดตารางให้อยู่เป็นตารางเดียวกัน นั่นก็หมายถึง การจัดตารางชีวิตส่วนตัวให้เห็นในตารางทำงาน (ซึ่งเป็นภาคบังคับ) เพื่อให้ตัวเองไม่สับสน

3. “พนักงาน Work From Home จะแบ่งเวลาใช้ชีวิตได้ดีขึ้น”

ความเป็นจริง : Work-Life Balance หรือ สมดุลการใช้ชีวิต เคยเป็นเป้าหมายที่สำคัญของคนทำงาน แต่ปัจจุบันต้องเรียกว่าเป็น “ความฝัน” เสียมากกว่า เพราะการแบ่งเวลาให้สองเรื่องสำคัญอย่าง การทำงานและชีวิตส่วนตัว อย่างเท่าเทียมกันนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ทุกอาชีพ แต่แนวคิด “ใช้ชีวิตอย่างยืดหยุ่น” ดูมีความเป็นไปได้จริงมากกว่าขึ้นมาแทน

สำหรับพนักงานที่Work From Home แบบได้ทำงานจริงๆ กลับมองต่างไปว่า พวกเขารู้สึกกดดันจากคนรอบข้างมากกว่าเดิม

ในช่วงแรกคนทำงานส่วนใหญ่จะทำทุกวิถีทางเพื่อแสดงให้หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่องค์กรเห็นว่า พวกเขาสามารถทำงานได้ดีเยี่ยมไม่ต่างกับการทำงานที่ออฟฟิศ จนอาจถึงขั้นไม่สามารถกำหนดช่วงเวลาชีวิตส่วนตัวได้อย่างชัดเจน

ทางแก้หรือแผนระยะยาวของพนักงานทำงานที่บ้านส่วนมาก ไม่เพียงแค่ต้องจัดเวลาให้กับตัวเองอย่างชัดเจน แต่ยังต้องชี้แจงตรงๆ กับคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนที่บ้านด้วยถึงเวลาทำงาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยและเสี่ยงกับการถูกกิจกรรมที่บ้านดึงเวลางานไปง่ายกว่าคนนั่งทำงานที่ออฟฟิศมากกว่าด้วย

อ่านเพิ่มเติม : “รุ่งเรืองท่ามกลางรุ่งริ่ง” ส่องกลุ่มธุรกิจที่ขายดีช่วง “โควิด-19” เขาทำยังไงบ้าง?

4. “พนักงานที่ไม่เข้าออฟฟิศมีทางได้เลื่อนขั้นน้อย”

ความเป็นจริง : บริษัทที่คุ้นชินกับการเห็นพนักงานนั่งทำงานในออฟฟิศตลอดเวลา จะนึกภาพพนักงานที่ไม่ค่อยเข้าออฟฟิศเลื่อนขั้นเป็นผู้จัดการหรือหัวหน้าคนไม่ออก 

แต่ในความจริงแล้ว หากประเมินที่ผลงาน พนักงานที่สามารถจัดการหรือพัฒนาผลงานการทำงานไม่ว่าจะทำงานที่ไหนก็ได้ได้ดี มีความสามารถในการบริการจัดการชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลกว่าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และมีแนวโน้มว่ามีความสามารถจัดการดูแลคนอื่นได้สูงตามไปด้วย

สถิติน่าสนใจเกี่ยวกับWork From Home ปี 2020 (อ้างอิงจากผลสำรวจของ HubSpot)

  • 18% ของผู้บริหาร บริหารจากนอกมากกว่าในสำนักงาน
  • พนักงานที่ทำงานในออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ มากกว่า 75% ทำงานในตำแหน่งของตัวเองน้อยกว่า 1 ปี
  • จำนวนของพนักงานที่ทำงานจากที่อื่นที่ไม่ใช่ที่ทำงานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพิ่มขึ้น 400% นับตั้งแต่ปี 2010
  • 42% ของพนักงานที่เลือกทำงานจากที่อื่น ตั้งใจจะทำงานจากนอกสำนักงานมากขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า
  • หากเลือกได้ คนจำนวนมากถึง 99% เลือกที่จะทำงานจากบ้าน อย่างน้อยก็เป็นบางครั้งบางคราว ตลอดชีวิตการทำงานของตัวเอง
  • 72% ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสรรหาบุคคลเห็นด้วยว่า เงื่อนไขการยืดหยุ่นในการทำงาน เช่น ทำงานจากที่อื่น มีความสำคัญต่อการเฟ้นหาพนักงานเข้าองค์กรในอนาคต
  • 83% ของพนักงานทุกรูปแบบเชื่อว่า การได้ทำงานนอกออฟฟิศจะช่วยให้พวกเขารู้สึกมีความสุขกับงานมากขึ้น
  • 40% ของคนทั่วไปมองว่า เวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นเป็นผลพลอยได้ที่ดีที่สุดของการทำงานจากที่อื่น

wow ส่งท้าย

วิธีWork From Home หรือ ทำงานจากบ้าน ไม่ใช่สิ่งใหม่ และกำลังเป็นเรื่องใกล้ตัวคนทำงานในบ้านเรามากขึ้น ที่อาจจะต้องประยุกต์ใช้กันให้เป็นตั้งแต่วันนี้พรุ่งนี้เลยก็เป็นได้ สิ่งที่คนทำงานทุกระดับชั้นตั้งแต่เจ้าของบริษัทไปจนถึงลูกน้องต้องทำคือ ทำความเข้าใจกับวิธีการ เรียนรู้กรณีการทำงานที่สำเร็จ และลองปรับใช้กับบริษัทให้เห็นภาพและโอกาสในการปรับให้เข้ากับตัวเอง

เพื่อที่ว่าทุกคนในบริษัทจะได้ใช้พลังงานอันมีค่าที่เหลือไปทุ่มกับการรับมือกับความท้าทายของธุรกิจที่แท้จริงอย่าง โควิด-19 หรือปัญหาใหญ่อื่นๆ ที่เข้ามาให้รับมืออยู่จริงๆ จะดีกว่า

อ้างอิง :

      hubspot.com/

อยากทำเว็บไซต์ธุรกิจที่ช่วยสร้างยอดขายได้จริง ปรึกษา WOW ฟรีที่นี่

รับบทความใหม่ ไปอ่านก่อนใครไหม?

ทำธุรกิจออนไลน์ด้วยความรู้อัปเดต เข้าใจง่าย ได้ยอดขายดีจริงๆ กันดีกว่า!

บทความน่าอ่านในหมวดเดียวกัน

manger and hr roles onboarding
Management

บทบาทของผู้จัดการและ HR ในกระบวนการ Onboarding

กระบวนการ Onboarding เป็นช่วงเวลาที่จะกำหนดความสำเร็จและความผูกพันของพนักงานใหม่ต่อองค์กร การสร้างประสบการณ์ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่ความรับผิดชอบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้จัดการและฝ่าย HR ที่มีบทบาทแตกต่างแต่เติมเต็มซึ่งกันและกัน บทความนี้จะอธิบายถึงบทบาทและความรับผิดชอบของทั้งผู้จัดการและ HR ในกระบวนการ Onboarding พร้อมนำเสนอวิธีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและทำให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์กรได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว อ่านเพิ่มเติม Onboarding คืออะไร ความหมายและความสำคัญที่องค์กรควรทราบ บทบาทหลักของ HR ในกระบวนการ Onboarding ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) มีบทบาทสำคัญในการวางโครงสร้างและจัดการกระบวนการ

measuring and evaluating onboarding
Management

การวัดผลและประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม Onboarding

การลงทุนในโปรแกรม Onboarding ที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรสมัยใหม่ แต่การลงทุนโดยไม่สามารถวัดผลได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่อาจเป็นการสูญเปล่าทรัพยากรและเวลา การวัดผลและประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม Onboarding ไม่เพียงแต่ช่วยให้องค์กรทราบถึงความคุ้มค่าในการลงทุน แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง บทความนี้จะนำเสนอวิธีการวัดผลและประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม Onboarding ด้วย KPI ที่สำคัญ เทคนิคการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงแนวทางในการนำผลลัพธ์มาปรับปรุงกระบวนการให้ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรและพนักงานใหม่อย่างแท้จริง อ่านเพิ่มเติม Onboarding คืออะไร ความหมายและความสำคัญที่องค์กรควรทราบ ความสำคัญของการวัดผลประสิทธิภาพการ Onboarding ทำไมการวัดผล Onboarding จึงมีความสำคัญ แสดงความคุ้มค่าการลงทุน (ROI) การวัดผลช่วยให้องค์กรสามารถคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนในโปรแกรม