Content Pillar

Content Pillar คืออะไร ทำไมนักการตลาดต้องรู้

การทำธุรกิจในปัจจุบัน การมีตัวตนบน Social Media อาจไม่สำคัญเท่ากับการที่แบรนด์จะต้องคอยสื่อสารเพื่อให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายรู้จักแบรนด์และสินค้าของแบรนด์ผ่านการโพสต์คอนเทนต์ลงแพลตฟอร์ม ยิ่งมีแพลตฟอร์มมากและแต่แพลตฟอร์มก็มีรูปแบบการทำคอนเทนต์ที่ต่างกัน การโพสต์คอนเทนต์ให้มีประสิทธิภาพจึงต้องมีการวางแผนคอนเทนต์ หรือที่เรียกว่าการทำ Content Pillar กันก่อน

Content Pillar คืออะไร

Content Pillar คือหัวข้อหลักของเนื้อหาที่แบรนด์อยากนำเสนอให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ โดยการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสินค้าของแบรนด์ตามวัตถุประสงค์แบรนด์วางเอาไส้ ช่วยให้ผู้ใช้รู้จักแบรนด์และเข้าใจว่าแบรนด์ขายสินค้าอะไร

Content Pillar มีกี่ประเภท

การแบ่งประเภท Content Pillar มีวิธีการแบ่งได้หลายรูปแบบ แต่ถ้าเรายึดตามรูปแบบคอนเทนต์ที่นำเสนอออกไปก็สามารถแบ่งได้ดังนี้

    1. Blog Post คือ การเขียนบทความโปรโมทสินค้า ซึ่งสามารถเขียนได้ทั้งบทความสั้นและบทความยาวเพื่ออธิบายวิธีการใช้งานสินค้าหรือบอกเล่าสรรพคุณพร้อมภาพสินค้าประกอบ
    2. Video ถือเป็นรูปแบบการนำเสนอที่หลายแบรนด์ใช้ เพราะด้วยรูปแบบการนำเสนอเป็นคลิปช่วยดึงความสนใจของผู้ชมได้ง่าย ลูกค้าสามารถฟังบรรยายวิธีการใช้และเห็นตัวอย่างการใช้สินค้าไปพร้อมกันได้เลย นอกจากนี้ Video ก็ยังเป็นรูปแบบการนำเสนอที่ Social Media ส่วนใหญ่รองรับการโพสต์ด้วย
    3. Infographic เป็นการนำเสนอข้อมูลแบบจบในหน้าเดียวที่เราเห็นได้ทั่วไป มีการนำข้อมูลที่เป็นข้อความ ตัวอักษร และตัวเลขมาใส่ พร้อมตกแต่งด้วยสีและภาพกราฟิกมาใช้ให้ข้อมูลมีความน่าสนใจ ดูแล้วสามารถเข้าใจรายละเอียดได้เลย
    4. Live เป็นการถ่ายทอดสดให้ผู้ชมได้ดูคอนเทนต์ที่แบรนด์นำเสนอได้ทันที และสามารถโต้ตอบกับแบรนด์ได้อีกด้วย การ Live จึงช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมได้เร็วและทำให้ลูกค้ารู้สึกสนิทกับแบรนด์มากขึ้น

 

Content Pillar มีประโยชน์อย่างไร

เพิ่มจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์

การทำ Content Pillar ช่วยเพิ่ม Brand Awareness ให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์ และเพิ่ม Traffic ของเว็บไซต์ในระยะยาวได้ เนื้อหาที่ผ่านการทำ Content Pillar จึงเหมาะที่จะนำไปใช้งานในระยะยาวได้นานกว่า ซึ่งลูกค้ายังสามารถย้อนกลับมาดูเนื้อหาใหม่ตั้งแต่ต้นเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่แบรนด์ต้องการเสนอในภาพรวมได้

เพิ่มเวลาการอยู่ในเว็บไซต์

เป้าหมายของเว็บไซต์คือการทำให้ผู้ใช้ที่เข้ามาในเว็บทำกิจกรรมอยู่ในเว็บให้ได้นานที่สุด เพราะการที่ผู้ใช้อยู่นานแสดงให้เห็นว่าเว็บมีคุณภาพ การทำ Content Pillar จะช่วยให้แบรนด์กำหนดได้ว่าจะทำคอนเทนต์อะไรที่จะช่วยดึงผู้ใช้ให้อยู่บนเว็บไซต์ได้นาน เช่น ทำคอนเทนต์อัปเดตกิจกรรมที่เกิดในงานอีเวนต์ หรือการเขียนบทความออกมาเป็นตอนเพื่ออธิบายเรื่องที่ได้รับความสนใจ ก็มีส่วนช่วยให้ผู้ใช้มีคอนเทนต์ให้ติดตามได้ต่อเนื่อง ช่วยเพิ่ม Conversion ให้กับเว็บด้วย

เว็บมีอันดับในหน้าผลการค้นหาสูงขึ้น

สิ่งที่ Google ชอบคือคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและประโยชน์ต่อผู้ใช้ ยิ่งถ้าคอนเทนต์มีการใช้ Keyword ที่มียอดค้นหาสูงจะช่วยให้เว็บของเราติดอันดับสูงขึ้น การมี Content Pillar จะช่วยให้เราวางแผนออกแบบคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเฉพาะตามกลุ่มเป้าหมายของเราได้ และทำให้เว็บมีอันดับใน Google ที่สูงขึ้นด้วย

สร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้า

การทำให้ลูกค้าเชื่อใจแบรนด์ของเรา แบรนด์จะต้องสร้างคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ต่อผู้อ่านด้วย ไม่ใช่แค่หวังผลทางธุรกิจเท่านั้น การมี Content Pillar จะช่วยให้แบรนด์สามารถทำคอนเทนต์ตามหัวข้อที่ผู้อ่านอยากรู้และทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ช่วยให้ผู้อ่านเชื่อใจและจดจำว่าหากต้องการติดตามคอนเทนต์หัวข้อนี้ก็สามารถติดตามผ่านช่องทางต่างๆ ของแบรนด์ได้

ขั้นตอนการสร้าง Content Pillar

    1. กำหนดเป้าหมายของธุรกิจ

การทำ Content Pillar เริ่มจากที่เราจะต้องกำหนดเป้าหมายของแบรนด์ว่าอยากสื่อสารอะไร เพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก เช่น อยากสื่อสารตัวตนของแบรนด์ คุณก็ต้องสร้างคอนเทนต์ที่ทำให้ผู้ชมรู้จักแบรนด์ หรือถ้าอยากโปรโมทสินค้าใหม่ ก็ต้องสร้างคอนเทนต์แนะนำสินค้า

2.วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

เมื่อเราเลือกเป้าหมายแล้ว ก็มาถึงการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์อยากสื่อสารด้วย โดยเราจะต้องกำหนดลักษณะของลูกค้าให้ชัดเจน เช่น เพศอะไร อายุเท่าไหร่ มีรายได้เท่าไหร่ c]tมีความสนใจอะไรบ้าง เพื่อให้เรารู้ว่าลูกค้ากลุ่มดังกล่าวมีปัญหาอะไร และต้องการคอนเทนต์แบบไหนที่จะช่วยแก้ไขปัญหา

3.สำรวจคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน

เราจำเป็นต้องรู้จักคู่แข่งในธุรกิจที่มีขนาดใกล้เคียงและต่างกัน โดยพยายามศึกษาข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เรารู้จักเขามากที่สุด เช่น รูปแบบคอนเทนต์ ลักษณะของคอนเทนต์ ช่องทางการนำเสนอ และความถี่ของการโพสต์ ก็จะช่วยให้เราวิเคราะห์ Content Pillar ของคู่แข่ง และนำมาพัฒนา Content Pillar ของเราให้ดีกว่า

4.กำหนดหัวข้อ Content Pillar

ในขั้นต่อมาคือการเลือกหัวข้อที่อยากนำมาทำ Content Pillar ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือสินค้าของเรา และยังเป็นหัวข้อที่ลูกค้าสนใจ

5.คิดรูปแบบการนำเสนอ

ถัดจากการคิดหัวข้อหลักแล้ว เราก็ต้องมาคิดต่อว่าจะนำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบไหนที่กลุ่มเป้าหมายของเราชอบและมีส่วนร่วมได้มาก เช่น บทความ ภาพกราฟิก วิดีโอ คลิปสั้น และที่ขาดไม่ได้คือการเลือก Social Media ที่จะนำคอนเทนต์ไปโพสต์ เพราะแต่ละแพลตฟอร์มมีรูปแบบคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมแตกต่างกัน

6.สร้าง Content Calendar เพื่อกำหนดวันและเวลาโพสต์

การลงคอนเทนต์ให้มีประสิทธิภาพ เราจำเป็นต้องสร้าง Content Calendar เพื่อกำหนดว่าเราจะลงคอนเทนต์วันไหน เวลาเท่าไหร่ และจะลงบนแพลตฟอร์มไหน ในแต่ละเดือน เพราะนอกจากจะช่วยจัดระเบียบคอนเทนต์ของเราแล้ว ยังช่วยให้กลุ่มเป้าหมายติดตามคอนเทนต์ของเราได้ตามตารางที่กำหนดไว้

7.ติดตามผลลัพธ์และนำข้อมูลมาวิเคราะห์

การทำคอนเทนต์จะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลตามไปด้วยเสมอเพื่อดูว่ากลุ่มเป้าหมายมีการตอบรับคอนเทนต์คอนเทนต์นั้นๆ อย่างไร ตั้งแต่ยอดการเข้าถึง ยอดการมีส่วนร่วม ไปจนถึงความคิดเห็น โดยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่ Social Media มีมาใช้วิเคราะห์และปรับปรุงเนื้อหาต่อไป

การทำ Content Pillar จึงเป็นกลยุทธ์ที่นักการตลาดต้องรู้จัก เพราะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้แบรนด์รู้ว่าอยากจะสื่อสารอะไรออกไป และนำไปออกแบบคอนเทนต์ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งการสร้างคอนเทนต์ที่ดีจะช่วยให้สร้างการจดจำให้ลูกค้าไปด้วย นำไปสู่ความต้องการในการใช้สินค้าต่อไป

Source : 1 2 3 4 5 

 

 

 

 

 

อยากทำเว็บไซต์ธุรกิจที่ช่วยสร้างยอดขายได้จริง ปรึกษา WOW ฟรีที่นี่

รับบทความใหม่ ไปอ่านก่อนใครไหม?

ทำธุรกิจออนไลน์ด้วยความรู้อัปเดต เข้าใจง่าย ได้ยอดขายดีจริงๆ กันดีกว่า!

บทความน่าอ่านในหมวดเดียวกัน

seo-terms-beginners-guide
Uncategorized

ศัพท์ SEO ที่มือใหม่ของวงการต้องรู้

เป้าหมายของคนที่เริ่มทำเว็บไซต์ทุกคนมีเหมือนกันคือการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ขึ้นไปอยู่ในหน้าแรกของ Google ซึ่งเราเรียกกันว่า Search Engine Optimization หรือ SEO การทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับต้นๆ นั้นมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง และถ้าคุณเป็นมือใหม่ที่อยากเริ่มต้นทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ของคุณ การทำความเข้าใจคำศัพท์ SEO พื้นฐานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ ในบทความนี้ เราได้รวบรวมคำศัพท์ SEO ที่จำเป็นมากถึง 60 คำ พร้อมคำอธิบายความหมายที่เข้าใจง่าย เพื่อให้คุณสามารถเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำ SEO

ขั้นตอนการเปิดบริษัททัวร์
Marketing

ขั้นตอนการเปิดบริษัททัวร์: คู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับผู้ประกอบการใหม่

การเปิดบริษัททัวร์เป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่หลงใหลในการท่องเที่ยวและต้องการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับนักเดินทาง บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนสำคัญในการเปิดบริษัททัวร์อย่างละเอียด เพื่อช่วยให้คุณเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างราบรื่น 1. การจองชื่อบริษัท ขั้นตอนแรกในการเปิดบริษัททัวร์คือการจองชื่อบริษัท ซึ่งสามารถทำได้ผ่านระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ข้อควรรู้ในการจองชื่อบริษัททัวร์ สามารถใช้คำว่า “ทัวร์” หรือ “ทราเวล” ในชื่อบริษัทได้ทันที ไม่จำเป็นต้องแก้ไขชื่อภายหลัง สามารถใช้ชื่อที่มีคำเหล่านี้ตั้งแต่เริ่มต้น ตรวจสอบว่าชื่อที่ต้องการไม่ซ้ำกับบริษัทอื่นที่จดทะเบียนแล้ว  2. การจดทะเบียนบริษัทนำเที่ยว หลังจากจองชื่อบริษัทแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจดทะเบียนบริษัท ซึ่งมีสองวิธีให้เลือก:  ก. แบบ Manual ยื่นเอกสารที่สำนักพัฒนาธุรกิจการค้าหรือพาณิชย์จังหวัดใกล้บ้าน